วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

สารที่พบในดอกอัญชัน

สารแอนโธไซยานินที่มีอยู่มากในดอกอัญชัน

               ดอกอัญชัน รู้จักครั้งแรกเมื่อตอนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ในบทเรียนที่ต้องทำการทดลองเรื่องความเป็นกรด-ด่าง ที่ต้องใช้ดอกอัญชันก็เพราะว่า ในดอกสีน้ำเงินนี้จะมีสารแอนโธไซยานิน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเมื่อโดนกรด และนอกจากจะเป็นสารทดสอบความเป็นกรด-ด่างแล้ว ดอกอัญชันยังมีประโยชน์อีกมากมาย ที่เห็นได้บ่อยๆ อย่างหนึ่งก็คือการเป็นสีผสมอาหาร โดยเฉพาะในขนมไทย เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้ หรือน้ำดอกอัญชันดื่มแก้กระหาย เป็นต้น
สารแอนโธไซยานินที่มีอยู่มากในดอกอัญชันนี้ มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ เช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ เช่น หลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น เพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมาขึ้น ในขณะนี้ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิก เกี่ยวกับความสามารถของสารแอนโธไซยานิน ในการเพิ่มประสิทธิภาพของตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
และสารแอนโธไซยานินที่ว่านี้ ก็ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติอีกด้วย นอกจากนั้น ในตำรายาไทยยังได้กล่าวถึงสรรพคุณของอัญชันไว้ว่า รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้ตาอักเสบ ตาฟาง ตาแฉะ นอกจากนี้ยังมีการนำรากอัญชันมาถูฟันแก้ปวดฟัน ทำให้ฟันคงทนแข็งแรงได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นดอกไม้ไทยๆ อีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าไม่น้อยเลยทีเดียวสารที่พบ
ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงิน
มีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)          
           สมัยโบราณนิยมนำมาบดแล้วเขียนคิ้วให้เด็กแรกเกิด ทำให้คิ้วดกดำเรียงตัวสวย ดอกอัญชัญมีสารกลุ่มแอนโธไซยานินช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ บำรุงสายตา หากนำมาหมักผมจะช่วยกระตุ้นหนังศีรษะ ทำให้ผมดกดำ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย



เครดิต : http://numonmon.wordpress.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99/




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น