วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์





    
อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด



                                   
          

สารที่พบในดอกอัญชัน

สารแอนโธไซยานินที่มีอยู่มากในดอกอัญชัน

               ดอกอัญชัน รู้จักครั้งแรกเมื่อตอนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ในบทเรียนที่ต้องทำการทดลองเรื่องความเป็นกรด-ด่าง ที่ต้องใช้ดอกอัญชันก็เพราะว่า ในดอกสีน้ำเงินนี้จะมีสารแอนโธไซยานิน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเมื่อโดนกรด และนอกจากจะเป็นสารทดสอบความเป็นกรด-ด่างแล้ว ดอกอัญชันยังมีประโยชน์อีกมากมาย ที่เห็นได้บ่อยๆ อย่างหนึ่งก็คือการเป็นสีผสมอาหาร โดยเฉพาะในขนมไทย เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้ หรือน้ำดอกอัญชันดื่มแก้กระหาย เป็นต้น
สารแอนโธไซยานินที่มีอยู่มากในดอกอัญชันนี้ มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ เช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ เช่น หลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น เพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมาขึ้น ในขณะนี้ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิก เกี่ยวกับความสามารถของสารแอนโธไซยานิน ในการเพิ่มประสิทธิภาพของตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
และสารแอนโธไซยานินที่ว่านี้ ก็ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติอีกด้วย นอกจากนั้น ในตำรายาไทยยังได้กล่าวถึงสรรพคุณของอัญชันไว้ว่า รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้ตาอักเสบ ตาฟาง ตาแฉะ นอกจากนี้ยังมีการนำรากอัญชันมาถูฟันแก้ปวดฟัน ทำให้ฟันคงทนแข็งแรงได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นดอกไม้ไทยๆ อีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าไม่น้อยเลยทีเดียวสารที่พบ
ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงิน
มีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)          
           สมัยโบราณนิยมนำมาบดแล้วเขียนคิ้วให้เด็กแรกเกิด ทำให้คิ้วดกดำเรียงตัวสวย ดอกอัญชัญมีสารกลุ่มแอนโธไซยานินช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ บำรุงสายตา หากนำมาหมักผมจะช่วยกระตุ้นหนังศีรษะ ทำให้ผมดกดำ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย



เครดิต : http://numonmon.wordpress.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99/




ประโยชน์ของดอกอัญชัน




1. เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารแอนโธไซยานิน มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน

2. ใช้เป็นสีผสมอาหารโดยเฉพาะในขนมไทย เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้

3. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น  นื่องจากดอกอัญชัญมีสารที่จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ  เช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น  และความสามารถของสารแอนโธไซยานินในดอกอัญชัญยังเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตาเช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมมากขึ้น ทำให้เซลล์รากผมแข็งแรงขึ้น


    ในตำรายาไทยโบราณยังได้กล่าวถึงสรรพคุณของดอกอัญชันไว้ว่า  รากมีรสเย็นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้ตากอักเสบ ตาฟาง ตาแฉะ นอกจากนี้ยังมีการนำรากอัญชันมาถูฟันแก้ปวดฟัน ทำให้ฟันคงทนแข็งแรง เมล็ดใช้เป็นยาระบายแต่จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน


    นับเป็นความมหัศจรรย์ของสมุนไพรอีกชนิด  ที่มีประโยชน์ในการนำมาใช้สอยมากมาย อีกทั้งยังปลูกง่ายหาได้ทั่วไป  ดอกอัญชัญนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกร่างกายแล้วยังปลูกไว้เป็นรั้วสีสวยดูสบายตาได้อีกด้วย เคยเห็นผู้เฒ่าผู้แก่เอามาเสียบกับก้านทางมะพร้าวนำไปใส่แจกันบูชาพระสวยดีอีกด้วย     



เครดิต :    http://numonmon.wordpress.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99/ 

น้ำดอกอัญชัน

         


          นอกจากจะกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพแล้ว เครื่องดื่มก็มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและทำให้สุขภาพดีได้เช่นกัน อย่างน้ำดอกอัญชันก็เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรไทยที่มีสีสวยสด รสชาติอร่อย เหมาะมากที่จะดื่มเพื่อดับกระหายคลายร้อน นอกจากนี้ในดอกอัญชันยังมีสารแอนโธไซยานิน มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น และช่วยป้องกันโรคของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจกได้ด้วย

ปริมาณแคลอรี่

ประมาณ 100 กิโลแคลอรี่


เครื่องปรุง

1.             ดอกอัญชัน 100 กรัม
2.             น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ
3.             น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
4.             น้ำมะนาว (ตามชอบ)

วิธีทำ

1.ใช้ดอกอัญชันสด 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด นำมาต้มในน้ำ 2 ถ้วยจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที แล้วกรองเอาดอกอัญชันขึ้นจากหม้อต้ม
2.ทำน้ำเชื่อมโดยการละลายน้ำตาลทราย 500 กรัมในน้ำเปล่า 500 กรัม
3.นำน้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม และน้ำผึ้งผสมรวมกัน ชิมรสตามชอบ
4.ใครที่ชอบรสเปรี้ยวอาจบีบมะนาวตามชอบ สีของน้ำอัญชัญจะเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีม่วง

ข้อแนะนำการดื่ม

1.ควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยาอย่างเต็มที่
2.การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันนานๆ อาจทำให้เกิดการสะสมของสารบางชนิดที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย จึงควรดื่มให้หลากหลาย
3.การดื่มน้ำสมุนไพรที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไปอาจทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียภูมิคุ้มกันและอาจทำให้มีการดูดซึม สารก่อมะเร็ง และจุลินทรีย์ได้ง่าย จึงควรดื่มแบบอุ่นๆ หรือเติมน้ำแข็ง



เครดิต : http://super-cat.com/butterfly-pea-punch.html